วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ท้องฟ้า


ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลงเครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ

ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน

ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นพระจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว

ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่นสำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่างๆและดวงจันทร์ในระบบสุริยะ

อาหารไทย

อาหารไทย : ผัดไทยกุ้งสด

* กุ้งสด 12 ตัว (ทำความสะอาด, ปอกเปลือก)

* เส้นจันท์ (หรือเส้นเล็ก) 90 กรัม

* ถั่วงอก 50 กรัม

* ใบกุ้ยช่าย 2 ช้อนโต๊ะ (หั่นให้มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว)

* น้ำปลา 6 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมันหอย 6 ช้อนโต๊ะ

* น้ำมะขาม 3 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำส้มสายชู)

* น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

* หัวไชโป้ว 2 ช้อนโต๊ะ

* ถั่วลิสงบด 2 ช้อนโต๊ะ

* ไข่ 2 ฟอง

* พริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ (ถ้าชอบรสจัด)

* มะนาว 1/2 ลูก

ถั่วงอกสด
อาหารไทย : ผัดไทยกุ้งสด

วิธีทำทีละขั้นตอน

1. กรณีใช้เส้นชนิดแห้ง ให้นำเส้นไปแช่น้ำธรรมดา (อุณหภูมิห้อง) ประมาณ 30 นาที

2. ตั้งกระทะบนไฟปานกลาง ใส่กุ้งลงไปผัดจนเริ่มสุก ตอกใส่ไข่ลงไปในกระทะ ใช้ตะหลิวเขี่ยให้ไข่แดงแตก พอไข่เริ่มสุก ใส่เส้น, น้ำตาล, ถั่วลิสงและ หัวไชโป้ว ผัดจนเส้นเริ่มนุ่มและเครื่องปรุงทั้งหมดผสมกันทั่ว

3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมันหอย และน้ำมะขาม (หรือน้ำส้มสายชู) ใส่ถั่วงอก, หัวไชโป้วและพริกป่น (ถ้าชอบรสจัด) ผัดอย่างรวดเร็วให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว ตักใส่จาน จัดแต่งด้วยถั่วงอกสด, พริกป่น, และมะนาว ข้างจาน ควรเสิรฟขณะยังร้อน


ประวัติศาสตร์ไทย


ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อพ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"[2] ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้[3]


พระประจำวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก

ลักษณะพระพุทธรูป : พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

ความเป็นมา
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับบำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอันเกิดจากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งละ 7 วันนั้น ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เอง ก็ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนได้ตกลงมาไม่หยุด พญานาคตนหนึ่งชื่อ “มุจลินท์นาคราช” ก็ได้ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้ฝนตกต้องพระวรกาย เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย จนฝนหาย จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์

เขาพนมรุ้ง


อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ประวัติความเป็นมาปราสาทหินเขาพนมรุ้ง


"อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้" ตั้งอยู่
ู่ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
์กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน
สำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่
ี่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2578
ปัจจุบันอดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่าน
การระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยน
แปลงปล่อง ภูเขาไฟ ให้เป็นแหล่งน้ำซึ่งมี
ีปริมาณ น้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและ
อุปโภคได้ตลอดปีสำหรับคนโดยทั่วไปและ
สำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่ง
ก่อสร้างอันยิ่งใหญ่บนนั้น

"ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง"เป็นศาสนสถาน
ทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการ
ยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพสิ่งก่อสร้างส่วน
ใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-18ร่วมสมัย
กับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวร
มันที่ 2 มหาราชองค์หนึ่งของ กัมพูชาเมื่อ
พุทธศตวรรษที่ 17 นั้นเป็นศาสนสถานทาง
ศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกายคือการยก
เอาพระนารายณ์โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่น
ฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมร
ุ ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อ
สร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ
พระศิวะมหาเทพ
จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิ
เพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุจึงเลือกเอา
พนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพู
บนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหน
ทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบและหัน
หน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อ รับแสงแห่ง
ดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิร
ิมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง


ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้น หมาย
ถึง พระนารายณ์เทพองค์หนึ่งของศาสนา
พราหมณ์ บรรทมหลับพักผ่อนอยู่บนอนันต
นาคราช ณ เกษียรสมุทรโดยมีพระนางลักษมี
ีซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหส
ีคอยปรนนิบัติพัดวีมิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระ
นารายณ์เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบาย
เมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพ
อีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้สร้าง
โลกและทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับ
ใหม่ครั้นสิ้นกัลปโลกก็จะแตกดับลงไปเอง
พระนารายณ์ก็จะบรรทมหลับพักผ่อนอีกครั้นหนึ่ง

ทางดำเนินสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

ทางดำเนิน คือทางเดินก่อนถึงสะพาน
นาคราชที่ขึ้นสู่ศาสนสถานปราสาทเขาพนม
รุ้ง ณ ทิศเบื้องบนสองข้างทางเดินนี้มีเสา
ศิลาทรายทำคล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยมปักเรียง
รายสองข้างทางเรียกกันมาแต่เดิมว่าเสานาง
เรียง เป็นทางเดินสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์
ขอมโบราณเรียกว่า เสานางจรัญ หากนำเข็ม
ทิศมาวางจับจะเห็นว่าทางดำเนินตรงกับแกน
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกโดยไม่คลาดเคลื่อน

เนื่องจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบและก่อสร้างของปราสาท
หินเขาพนมรุ้งได้ตรงตามหลักดาราศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์มหัศจรรย์ทาง
ธรรมชาติคือ "แสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตูทั้ง15 บานของปราสาทเขาพนมรุ้ง" ซึ่ง
เป็นปรากฏการณ์ที่มีความมหัศจรรย์และสวยงามเป็นอย่างมาก โดยปรากฏการณ์นี้
จะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง 2 ครั้ง
และดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งอีก 2 ครั้ง โดยปรากฏการณ์นี้
จะเกิดขึ้นทุกๆปี ดังนี้คือ


ครั้งที่ 1 ดวงอาทิตย์ตกทะลุซุ้มประตู 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5 -7 มีนาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณเวลา 18.15 – 18.23 น.

ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 3 – 5 เมษายนของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.05 0 06.13 น.

ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5– 7กันยายน ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.08 น.

ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ตกทะลซุ้มประตุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5 – 7ตุลาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 17.50 – 17.58

โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณวันและเวลาดังกล่าวของทุกปีแต่บางช่วงเวลาอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

ประวัติพระพุทธเจ้า


- พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
- เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
- ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"
สถานที่ประสูติ

2.วัยเด็ก

- หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
- ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
- พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
- เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

3.เสด็จออกผนวช

- เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า
-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ
- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)

4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

- ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...
“ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
- ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
- ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
- ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
- อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
- เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สถานที่ตรัสรู้ - พุทธคยา

5.ปฐมเทศนา

- หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
บัว ๔ เหล่า ได้แก่
๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)
- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"
ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว
- โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า
"ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ "
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม
สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก
- หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์

วิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์


เราควรทำอะไรบ้างกับคอมพิวเตอร์ของเรา

มีคนอีกจำนวนมากๆ ที่ไม่เคยดูแล รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือไม่ทราบว่าจะดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้อยู่กับเรานานๆ ได้อย่างไร อันนี้ไม่ได้โทษใคร แต่เราอยากจะแนะนำวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แบบพื้นฐาน อย่างน้อย จะได้ทราบว่า คอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในสภาพแบบไหน พร้อมใช้งานหรือไม่

เริ่มต้นการดูแลรักษา ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์

  1. สภาพภายนอก แนะนำให้ทำความสะอาดสักนิด อย่างน้อยก็เพื่ออนามัย และสุขภาพของคุณเอง คุณทราบหรือไม่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด มันสกปรกขนาดไหน (ลองคิดเล่นๆ ดูว่า วันๆ คุณหยิบจับอาหาร และใช้งานแป้นพิมพ์ หรือไม่ และฝุ่นละอองข้างๆ มีมากน้อยเพียงใด) ควรทำสะอาดบ้าง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  2. สายไฟ สายสัญญาณต่างๆ หลวม หรือหักชำรุดหรือไม่ แนะเสียบปลั๊กแล้ว ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ แนะนำให้รีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ให้รีบซื้อเปลี่ยนใหม่ดีกว่า ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ มีบ่อยกับคอมพิวเตอร์อย่างมาก วันดี คืนดี อาจเปิดไม่ติดเลย
  3. พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ หลังจากเปิด Windows เข้ามาแล้ว ลองเช็คพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ เสียก่อนว่า เหลือเท่าไหร่ ถ้าเหลือน้อยกว่า 500 MB ก็ควรพิจารณาเพื่มพื้นที่ว่างได้แล้ว โดยเฉพาะกับ Drive C: (ซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรม) แนะนำให้สำรองข้อมูล โดยเฉพาะไฟล์ต่างๆ?ทีอยู่ใน My Documents ออกไปบ้าง หรืออาจสำรองลง Drive อื่นๆ (ถ้ามี)
  4. ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือเรื่องพื้นที่ว่างแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่ามีจุดไหนเสียหรือไม่ วิธีการไม่จำเป็นต้องแกะเครื่องคอมฯ มาตรวจสอบ เพียงแค่ใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบ ประเภท Disk Defragment ก็สามารถเช็คได้แล้วว่า ฮาร์ดดิสก์ของเรามี "Bad Sector" หรือไม่ (Bad Sector เป็นจุดเสียของฮาร์ดดิสก์) ถ้ามี แนะนำให้รีบสำรองข้อมูล และเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ไปเลยจะปลอดภัยกว่า
  5. ตรวจสอบไวรัสบ้าง ถึงแม้ว่าเราจะมีโปรแกรม Antivirus แล้วก็ตาม เราก็ยังคงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบไวรัสอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และที่สำคัญก็ควรอัปเดทโปรแกรมแบบออนไลน์ให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วยเช่นกัน

แค่นี้ก็ช่วยลดปัญหาคอมพิวเตอร์ของคุณได้มากแล้วครับ ลองทำตามดูกันน่ะครับ

PostHeaderIcon เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน